จุดเด่นของกองทุน
กองทุนฯ เป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยที่ลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม และให้เช่าทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทจัดการเชื่อว่าความสามารถในการแข่งขันที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของกองทุนได้แก่
-
การมีกองทรัพย์สินซึ่งมีขนาดใหญ่และครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ อันประกอบไปด้วย เสาโทรคมนาคม FOC และทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมอื่นๆ (ทั้งที่เป็นกรรมสิทธ์ในทรัพย์สิน สิทธิการเช่าระยะยาว และสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สุทธิ) นั้น ทำให้กองทุนจะได้รับประโยชน์จากการที่เป็นผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรมซึ่งการเข้ามาในธุรกิจประเภทนี้มีอุปสรรคหลายประการ
บริษัทจัดการเชื่อว่ากองทรัพย์สินอันประกอบด้วยทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่มีลักษณะเฉพาะของกองทุนเป็นกองทรัพย์สินที่มีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายที่สุดของประเทศไทย และทำให้กองทุนสามารถให้เช่าทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเภท Passive ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์แก่ผู้เช่าได้ในขณะนี้กองทุนมีสิทธิในการรับรายได้สุทธิจากเสาโทรคมนาคมจำนวน 15,271 เสา และคาดว่าภายหลังการได้มาซึ่งทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 4 กองทุนจะมีสิทธิในการรับ ประโยชน์จากรายได้สุทธิจากเสาโทรคมนาคมจำนวน 16,059 เสา ที่ตั้งอยู่ใน 77 จังหวัดของประเทศไทย โดยประมาณร้อยละ16.5 ของเสาดังกล่าวอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งมีประชากรหนาแน่น บริษัทจัดการเชื่อว่ากองทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมนี้จะทำให้กองทุนสามารถนำเสนอเสาโทรคมนาคมที่มีความ ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศกว่าร้อยละ 98 ของประชากรในประเทศไทยแก่ผู้เช่าและบริหารจัดการหลักของกองทุนได้ โดย FOC ของกองทุนในขณะนี้มีความยาวประมาณ 96,150 กิโลเมตรซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณ รวม 9,169 ลิงค์และระบบบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัดจำนวน 1.2 ล้านพอร์ตครอบคลุม FOC 6,114 กิโลเมตร (หรือ198,085 คอร์กิโลเมตร) และเป็นที่คาดหมายว่าจะมีความยาวของ FOC เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 101,674 กิโลเมตรหลังจากการได้มาซึ่งทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 4 ซึ่งระยะทางรวมที่เพิ่มขึ้นมาทั้งหมดประมาณ 5,524 กิโลเมตรของ FOC และFOC รองรับระบบ FTTx จะทำให้การกระจายตัวของทรัพย์สินของกองทุนทั่วทั้ง 77 จังหวัดของประเทศไทยโดยรวมเพิ่มขึ้นอีก บริษัทจัดการเชื่อว่า FOC ที่จะได้มาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 4จะทำให้ความครอบคลุมของ FOC ของกองทุนทั่วประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยมี FOC ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณร้อยละ 44.5 ของ FOC ทั้งหมด ภายหลังจากการได้มาซึ่งทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐาน โทรคมนาคมที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 4 ดังนั้น การขยายกองทรัพย์สินอย่างต่อเนื่องของกองทุนในปัจจุบันช่วยให้กองทุนมีความได้เปรียบทางกลยุทธ์ในด้านการกระจายทรัพย์สินและความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งรวมถึง Internet of Things (“IoT”) รถยนต์ที่ส่งสัญญาณเชื่อมต่อกัน (Connected Car) เครื่องเล่นเสมือนจริงแบบพกพา (Mobile Virtual Reality) และโดรน (Drones) เป็นต้น และในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างประโยชน์จากทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมได้ด้วย
จากการที่กองทุนเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมรายแรกและรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ไทย ประกอบกับอุปสรรคหลายประการของการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมนี้ กองทุนจึงมีข้อได้เปรียบที่มีนัยสำคัญในฐานะผู้บุกเบิก การก่อสร้างเสาโทรคมนาคมใหม่และระบบ FOC backhaul ที่เชื่อมต่อกับเสาโทรคมนาคม ต้องใช้เงินลงทุนสูงและใช้เวลานาน อีกทั้งผู้ประกอบการรายใหม่ที่ต้องการเข้าสู่ตลาดนี้ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบที่เข้มงวด และกระบวนการขออนุญาตเพื่อก่อสร้างเสาโทรคมนาคมและ FOC backhaul ก็ใช้ระยะเวลายาวนาน ผู้ประกอบการรายอื่นที่ต้องการเข้ามาในตลาดอาจมีค่าใช้จ่ายทางการเงินและความเสี่ยงในการดำเนินการที่สูง รวมถึงการหยุดชะงักในการดำเนินการในกรณีที่มีการขนย้ายอุปกรณ์ไปติดตั้งบนเสาโทรคมนาคมอื่นๆ นอกจากนี้ ผู้ที่ต้องการเข้ามาในตลาดยังต้อง (ก) สร้างกองทรัพย์สินซึ่งประกอบด้วยเสา โทรคมนาคมที่มีขนาดใหญ่และมีการกระจายทางภูมิศาสตร์สูงเพื่อดึงดูดผู้ให้บริการโทรคมนาคมมาใช้บริการ และ (ข) ต้องใช้เวลานานในการสร้างความสัมพันธ์ความเชื่อถือและความมั่นใจเพื่อที่จะสามารถเจรจาข้อตกลงกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมได้สำเร็จ นอกจากนี้ผู้ที่ต้องการเข้ามาในตลาดยังอาจจะเผชิญกับความไม่แน่นอนทางกฎหมายอย่างมีนัยสำคัญ และยังต้องเผชิญกับการเจรจาต่อรองที่ซับซ้อนและใช้เวลายาวนานกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หากผู้ประกอบการเหล่านั้นพยายามที่จะปรับโครงสร้าง (spin-off) ทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่มีอยู่ของตน ดังนั้น กองทุนจึงมีความโดดเด่นด้วยการเป็นทางเลือกที่มีต้นทุนที่เหมาะสมในการขยายโครงข่ายโทรคมนาคมของผู้ประกอบการรายใหม่พร้อมกับช่วยลดเวลาในการเข้าสู่ตลาด
-
รายได้ของกองทุนภายใต้สัญญาเช่าระยะยาวจะเป็นพื้นฐานซึ่งช่วยให้กองทุนสามารถจัดสรรผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
ปัจจุบันกลุ่มทรูมีสัญญาเช่าทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมระยะยาวอยู่กับกองทุน ซึ่งจะสิ้นสุดประมาณปีพ.ศ. 2576 ซึ่งระยะเวลาการเช่าตามสัญญาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 18.5 ปี หลังจากการได้มาซึ่งทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ลงทุนเพิ่มเติมครั้งที่ 4 (ในกรณีที่มีการขยายระยะเวลาเช่า FOC ไปอีก 10 ปีหลังจากปีพ.ศ. 2576 ตามที่กองทุนมีสิทธิขอต่อสัญญาเช่าภายใต้สัญญาเช่าในปัจจุบันที่ได้มีการแก้ไขและแทนที่) ซึ่งเป็นกระแสรายได้ที่ยาวนานของกองทุน
รายได้ของกองทุนจากสัญญาเช่าระยะยาวประกอบด้วยค่าเช่าคงที่ รวมถึงค่าเช่าซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นรายปีที่คงที่เท่ากับร้อยละ 2.7 และมีปัจจัยการเพิ่มขึ้นอื่นที่เกี่ยวข้องกับดัชนีราคาผู้บริโภค นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายโดยหลักเกือบทั้งหมดมีอัตราคงที่หรือมีการกำหนดอัตราการเพิ่มไว้แล้ว ดังนั้น บริษัทจัดการจึงเชื่อว่ารูปแบบธุรกิจของกองทุนจะทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ยั่งยืนและมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
-
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของกองทุนเกือบทั้งหมดนั้น คงที่หรือมีการกำนดอัตราการเพิ่มไว้แล้ว ซึ่งทำให้สามารถคาดการณ์ผลตอบแทนการลงทุนได้ดีขึ้น รวมทั้งลดความผันผวนของผลตอบแทนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
นอกเหนือไปจากกระแสรายรับที่มั่นคงแล้ว กองทุนยังได้รับประโยชน์จากการที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจำนวนมากของกองทุนได้มีการระบุไว้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนได้รับประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้าในสัญญาต่างๆ ที่สำคัญของกองทุน เนื่องจากการแก้ไขเพิ่มเติมบางประการในสัญญาที่มีการตกลงกันในระหว่างการได้มาซึ่งทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 โดยในประการแรก กองทุนได้รับประโยชน์จากค่าใช้จ่ายที่มีการตกลงไว้แล้วในการย้ายเสาโทรคมนาคมในกรณีที่สัญญาเช่าพื้นที่ตั้งเสาที่เกี่ยวข้องนั้นไม่สามารถทำการตกลงกันใหม่หรือไม่สามารถต่อสัญญาได้ ในกรณีเช่นนั้น กองทุนตกลงที่จะจ่ายค่าชดเชยรายปี คงที่เป็นจำนวนประมาณ 79 ล้านบาทให้ TUC ซึ่งเป็นผู้เช่าและบริหารจัดการหลัก เพื่อเป็นการรับผิดชอบการย้ายเสาที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินซึ่งเป็นเสาโทรคมนาคมของทรูและเสาโทรคมนาคมของ TUC ที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 และเสาโทรคมนาคมของ TUC ที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 3 โดยที่ค่าใช้จ่ายในการย้ายเสานั้นจะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.7 ต่อปี ตั้งแต่เดือนมกราคมปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประการที่สอง กองทุนได้ประโยชน์จากสัญญาเช่า ดำเนินการ และบริหารจัดการหลักที่ได้มีการแก้ไขและแทนที่ ซึ่งจำกัดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่กองทุนต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการนำสาย FOC ลงใต้ดินและค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับสิทธิแห่งทางที่จำเป็น ทั้งนี้ TUC และ TICC ได้ตกลงและจะตกลงรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นในการนำ FOC ลงใต้ดิน สำหรับ FOC จากทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเบื้องต้น FOC ที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 และ FOC ที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 3 (เมื่อกองทุนชดเชยค่าใช้จ่ายในการย้ายเสาจำนวนประมาณ 79 ล้านบาทต่อปีให้ TUC ตามข้อตกลงของสัญญาเช่า ดำเนินการ และบริหารจัดการหลัก ได้มีการแก้ไขและแทนที่สำหรับเสาโทรคมนาคม) ทั้งนี้ TUC และ TICC ยังได้ตกลงรับผิดชอบส่วนต่างระหว่างค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับสิทธิแห่งทางสำหรับเสาไฟฟ้า และค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับสิทธิแห่งทางในส่วนของ FOC ที่จะถูกย้ายลงใต้ดิน และ ประการสุดท้าย กองทุนได้รับประโยชน์จากการจ่ายค่าเช่าที่ดินและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินคงที่สำหรับเสาโทรคมนาคม ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกองทุนเว้นแต่จะได้ตกลงเป็นอย่างอื่น
-
เสาโทรคมนาคมของกองทุนซึ่งครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ มีพื้นที่สำหรับรองรับการปล่อยเช่าเพิ่มเติม ทำให้กองทนุอยู่ในสถานะที่ดีต่อการเติบโตโดยการเพิ่มการเช่าพื้นที่ร่วม ซึ่งจะทำให้กองทุนได้รับประโยชน์จากการที่มีรูปแบบทางธุรกิจซึ่งมีความสามารถในการทำกำไรจากยอดขายส่วนเพิ่มที่สูง (operating leverage)
ภายหลังจากการได้มาซึ่งทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 4 บริษัทจัดการเชื่อว่ากองทุนจะมีทรัพย์สินที่หลากหลายและครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเข้าถึงโครงข่ายได้โดยไม่ต้องมีรายจ่ายลงทุนที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ในเขตต่างจังหวัดของประเทศไทยที่มีการเติบโตสูง และพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูง เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งนี้ FOC อีกประมาณ 295,726 คอร์กิโลเมตรที่จะได้มาเพิ่มเติมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 4 จะทำให้เครือข่าย FOC ทั้งหมดของกองทุนอยู่ที่ประมาณ 101,674 กิโลเมตร ซึ่งจะทำให้ความครอบคลุมของ FOC ของกองทุนทั่วประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยมี FOC ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณร้อยละ 44.5 ของ FOC ทั้งหมด ภายหลังจากการได้มาซึ่งทรัพย์สิน โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 4 (ซึ่งไม่รวมระบบ FOC ของ BFKT และระบบบรอดแบนด์ต่างจังหวัด) นอกจากนี้ การได้มาซึ่งเสาโทรคมนาคมอีกประมาณ 788 เสาที่เป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 4 จะทำให้กองทรัพย์สินในส่วนเสาโทรคมนาคมของกองทุนมีจำนวน ประมาณ 16,059 เสา โดยประมาณร้อยละ 16.5 ของกองทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมของกองทุนตั้งอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีการรับส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายสูงสุด
ปัจจุบันกองทุนมีทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมซึ่งเป็นเสากรรมสิทธิ์ของกองทุนจำนวน 9,727 เสา และมีอัตราการใช้งานเฉลี่ยจากกลุ่มทรู 2.33 พื้นที่ (slots) ต่อเสา และกองทุนสามารถจัดหาประโยชน์และมีรายได้เพิ่มเติมจากบุคคลภายนอกที่มาจากกองทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมของกองทุนได้เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากการให้เช่าเสาโทรคมนาคมเพิ่มเติมแก่ผู้เช่าที่เป็นบุคคลภายนอก ในขณะนี้หนึ่งในผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศไทยได้เช่าพื้นที่ (slots) ที่ว่าง บนเสาโทรคมนาคมเป็นจำนวนประมาณ 1,800 พื้นที่
การได้มาซึ่งเสาโทรคมนาคมเพิ่มเติมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 4 จะทำให้จำนวนเสาโทรคมนาคมที่แบ่งใช้ได้ของกองทุนเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 8.8 จากที่มีอยู่ 8,939 เสาในปัจจุบัน เป็นประมาณ 9,727 เสา โดยกองทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมของกองทุนในปัจจุบันมีอัตราการใช้งานเฉลี่ยจากกลุ่มทรูอยู่ที่ 2.36 พื้นที่ (slots) ต่อเสา หลังจากการได้มาซึ่งทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 4 อัตราการใช้งานเฉลี่ยจากกลุ่มทรูจะกลายเป็น 2.33 พื้นที่ (slots) ต่อเสา ซึ่งคาดการณ์ว่าจะก่อรายได้เฉลี่ยสุทธิ อนึ่ง รายได้เพิ่มเติมจากบุคคลภายนอกที่มาจากกองทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมของกองทุนได้เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำาเสมอจากต้นปี พ.ศ. 2559 และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการให้เช่าเสาโทรคมนาคมเพิ่มเติมแก่ผู้เช่าที่เป็นบุคคลภายนอก หลังจากการได้มาซึ่งเสา โทรคมนาคมเพิ่มเติมจำนวนประมาณ 788 เสา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 4 นอกจากนั้น ในขณะนี้หนึ่งในผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศไทยได้เช่าพื้นที่ (slots) ที่ว่าง บนเสาโทรคมนาคมเป็นจำนวนประมาณ 1,800 พื้นที่
สำหรับ FOC ของกองทุนในปัจจุบันนั้นมีเครือข่าย อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่เมืองที่มีความเจริญมากที่สุดของประเทศ และเป็นพื้นที่ที่มีการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 45 (ซึ่งเป็น FOC ความยาว 975,841 คอร์กิโลเมตร) ของเครือข่าย FOC รวมของกองทุน (ซึ่งไม่รวมถึง ระบบ FOC ของ BFKT และระบบบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด) ดังนั้น บริษัทจัดการเชื่อว่ากองทุนจะอยู่ในสถานะที่ดีที่จะตอบสนองต่อลูกค้าหลากหลายประเภทได้ในอนาคต รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP Player) และลูกค้าองค์กรด้วย ทั้งนี้รัฐบาลได้ประกาศแผนการรื้อถอนสายไฟฟ้าและสายโทรคมนาคมเหนือศีรษะ (overhead cable) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งกลุ่มทรูตกลงรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำสาย FOC ลงใต้ดิน และค่าธรรมเนียมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิแห่งทางในกรณีที่ต้องนำสาย FOC ลงใต้ดิน สำหรับส่วนที่เกินกว่าที่ได้ตกลงกันตามสัญญาที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจาก Analysys Mason ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสภาวะการแข่งขันในตลาด เนื่องจากเป็นข้อกำหนดที่ใช้บังคับกับผู้ประกอบการทุกราย และผู้ประกอบการไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการย้ายสายลงใต้ดินส่วนหนึ่งจะได้รับชดเชยโดยรายจ่ายด้านทุนที่ลดลงจากค่าซ่อมบำรุงโครงข่าย ในแง่ของการให้บริการ ข้อกำหนดย้ายสายลงใต้ดินอาจจะเพิ่มโอกาสการใช้สายเคเบิลใต้ดินร่วมกันของผู้ประกอบการที่ไม่ประสงค์จะวางสายใหม่เนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและเวลาในการเข้าสู่ตลาด ซึ่งกองทุนเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของกองทุนในที่สุด
นอกจากนี้ เนื่องจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่าง ๆ มุ่งเน้นการติดตั้ง 4G และ 5G ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะทำการตัดสินใจเลือกคลื่นความถี่ได้ลำบากขึ้น เนื่องจากผู้ให้บริการโทรคมนาคมต่างๆ ในประเทศไทย เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ในช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้คลื่นความถี่ต่ำ (ต่ำกว่า 1GHz) จะมีคุณสมบัติในการส่งสัญญาณที่ดีกว่า และทำให้สถานีฐาน (Base Transceiver Station หรือ BTS) หนึ่งสถานีสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่าสถานีฐาน (BTS) สำหรับคลื่นความถี่สูงกว่าการไม่สามารถเข้าถึงคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่า 1 GHz ได้ทำให้ความครอบคลุมของสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และความสามารถในการรองรับความจุของสัญญาณดังกล่าวในพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นไปได้ยากขึ้น
ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการเพิ่มผู้เช่าและบริหารจัดการพื้นที่ร่วมสำหรับกองทรัพย์สินของกองทุนจะมีจำนวนค่อนข้างต่ำ ทำให้กองทุนสามารถเปลี่ยนรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการมีผู้เช่าและบริหารจัดการพื้นที่ร่วมเป็นผลกำไรและกระแสเงินสดได้มากขึ้น นอกจากนี้ ผู้เช่าและบริหารจัดการหลักซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องบำรุงรักษาทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมจะมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ค่อนข้างต่ำ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้เช่าและบริหารจัดการหลักดังกล่าวทำการต่อสัญญาเช่า ดำเนินการและบริหารจัดการหลักที่ได้มีการแก้ไขและแทนที่กับกองทุนเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าของสัญญาดังกล่าว โดยบริษัทจัดการเชื่อว่ารูปแบบทางธุรกิจของกองทุนมีความสามารถในการทำกำไรจากยอดขายส่วนเพิ่มที่สูง (operating leverage) อีกทั้งมีโอกาสเติบโตได้ในอนาคต
-
การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มทรู ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการกิจการโทรคมนาคมที่ครอบคลุมทั่วประเทศและครบวงจรในประเทศไทย รวมถึงประสบการณ์ของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐานชั้นนำของประเทศไทย
ผู้เช่าและบริหารจัดการหลักของกองทุนเป็นบริษัทย่อยของทรู ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่รายหนึ่งของประเทศไทยและเป็นหนึ่งในผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมครบวงจรที่ครอบคลุมทั่วประเทศ กลุ่มทรู ซึ่งถือหน่วยลงทุนของกองทุนอยู่ร้อยละ 23.38 ของหน่วยลงทุนที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของกองทุน ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือบริษัทเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในเครือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มทรูเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศไทย โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 32 จากรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วงไตรมาส 3 ของปี พ.ศ. 2563 และเป็นผู้นำตลาดธุรกิจบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดที่ร้อยละ 36 ในช่วงไตรมาส 3 ของปี พ.ศ. 2563
บริษัทจัดการคาดว่าการสนับสนุนและความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของกลุ่มทรูจะยังทำให้กองทุนมีข้อได้เปรียบในเชิงการแข่งขันในการบริหารจัดการทรัพย์สินและการขยายกองทรัพย์สินของกองทุนได้ต่อไป โดยกองทุนจะได้รับประโยชน์จากความรู้ทางด้านเทคนิคในเชิงลึกจากกลุ่มวิศวกร และผู้บริหารระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมของกลุ่มทรูผ่านผู้จัดการทรัพย์สินโทรคมนาคม ซึ่งจะให้บริการในด้านงานธุรการ การให้บริการ การจัดการด้านการขาย และการตลาดกับกองทุน นอกจากนี้ กองทุนจะยังได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ของกลุ่มทรูกับผู้แทนของผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายอื่นๆ ของประเทศไทย โดยผ่านทางการเข้าดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุนของกองทุนซึ่งสมาชิกแต่ละรายของคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุนซึ่งมาจากกลุ่มทรูนี้เป็นผู้มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยมากว่า 20 ปี โดยเฉลี่ย
กองทุนจะยังได้รับประโยชน์จากความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของบริษัทจัดการ โดยบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เป็นบริษัทจัดการชั้นนำของประเทศและเป็นหนึ่งในผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐานชั้นนำของประเทศไทย
-
กองทุนอยู่ในสถานะที่ดีที่จะได้รับประโยชน์จากการขยายโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วจากการเปลี่ยนไปใช้บริการระบบ 4G LTE และการติดตั้งระบบ 5G ใน อนาคต
มีการคาดการณ์ว่าอัตราจำนวนผู้ใช้บริการ 4G LTE ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเคลื่อนที่ในประเทศไทยจะมีอัตราการเติบโตสูง โดย Analysys Mason ประมาณการว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ของจำนวนผู้ใช้บริการ 4G LTE ที่ร้อยละ 25 และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 76 ในปี พ.ศ. 2565 โดยเป็นผลจากการเข้าถึงสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้น ค่าบริการข้อมูลที่ลดลงและการเข้าถึงจำนวนแอปพลิเคชันและข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนคาดว่าจะเติบโตจากร้อยละ 78 ในปี พ.ศ. 2559 เป็นร้อยละ 106 ในปี พ.ศ. 2565 โดยเป็นผลจากการมีผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนมาใช้บริการ 4G เพิ่มขึ้น และความต้องการใช้บริการข้อมูลเคลื่อนที่ รวมถึงการที่สมาร์ทโฟนมีราคาถูกลง นอกจากนี้ Analysys Mason ยังได้ทำการประมาณการว่าปริมาณการรับส่งข้อมูลรวมถึงอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่จะเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ร้อยละ 9.2 ระหว่างปีพ.ศ. 2560 ถึงปี พ.ศ. 2565 นอกจากนี้ บริษัท ทรูดิจิตอล แอนด์มีเดีย แพลตฟอร์ม จำกัด ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2560 เพื่อให้บริการเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (สื่อดิจิทัลออนไลน์) บนเว็บไซต์และเครื่องมืออุปกรณ์โทรคมนาคม จะช่วยเพิ่มอัตราการใช้บริการข้อมูลบนเครือข่ายของกองทุนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
บริษัทจัดการเชื่อว่าการมีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตและระบบบรอดแบนด์ประจำที่เพิ่มขึ้นจากในปัจจุบัน (ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ APAC ที่ร้อยละ 40 (ซึ่งอ้างอิงจากค่าเฉลี่ยของ 8 ประเทศในกลุ่มประเทศในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ อินเดีย จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สิงคโปร์ และประเทศไทย ตามรายงานของ Analysys Mason) จะช่วยเพิ่มความต้องการการใช้แบนด์วิธและ FOC ที่มากขึ้น ทั้งนี้ Analysys Mason คาดว่าการเข้าถึงระบบบรอดแบนด์ในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34 ในปี พ.ศ. 2559 เป็นร้อยละ 53 ในปี พ.ศ. 2565
นอกจากนี้ การติดตั้งระบบ 5G จะต้องมีการติดตั้งเครือข่าย FOC ที่มีการกระจุกตัวอย่างหนาแน่นเพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าจะมีแบนด์วิธเพียงพอในการรองรับผู้ใช้บริการทั้งต้นสายและปลายสาย โดยมุ่งเน้นที่ระบบเสาขนาดเล็ก การติดตั้ง 5G จะต้องใช้โครงข่ายที่หนาแน่นเพื่อรองรับการรับส่งของข้อมูลในปริมาณมาก ซึ่งคาดว่าจะมาจากผู้ใช้บริการเครือข่ายไร้สาย ทั้งนี้ รัฐบาลกำลังเตรียมการเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านของประเทศไทยไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบดิจิทัล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดริเริ่มเพื่อพัฒนาประเทศให้ทันสมัยผ่านระบบโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายโทรคมนาคมที่พัฒนาแล้ว ภายใต้แผน “โครงข่ายหลักบรอดแบนด์แห่งชาติ”(National Broadband Backbone) และ “ระบบเกตเวย์ระหว่างประเทศ” (International Gateway) ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมวางแผนพัฒนาเครือข่ายบรอดแบนด์เพื่อให้ประชากรอย่างน้อยร้อยละ 95 สามารถเข้าถึงได้ภายในปีพ.ศ. 2563โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27 ในปี พ.ศ. 2557
อุปสงค์สำหรับการใช้บริการการส่งข้อมูลคุณภาพสูงจะส่งผลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทยต้องจัดหาอุปกรณ์โครงข่ายเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับ อันจะทำให้เกิดความต้องการใช้เสาโทรคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเภท Passive และ FOC เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับอีกด้วย
ในฐานะที่กองทุนเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมรายแรกในประเทศไทย และเป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่เป็นอิสระ (Independent Telecom Infrastructure Platform) กล่าวคือ กองทุนไม่ได้ประกอบธุรกิจที่เป็นการแข่งขันกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมซึ่งเป็นผู้ที่มีโอกาสเช่า ซึ่งอาจทำให้กองทุนมีความน่าสนใจมากขึ้นสำหรับการให้บุคคลภายนอกเช่าทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมจากกองทุนโดยมีข้อได้เปรียบที่สำคัญในมุมมองของผู้เช่า คือ (ก) ลดภาระการลงทุน (ข) ใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่าในการเข้าถึงตลาด และ (ค) มีความยืดหยุ่นสูงกว่า จากการที่กองทุนมีเครือข่ายที่ครอบคลุมกว้างขวาง นอกจากนี้ บริษัทจัดการเชื่อว่ากองทุนอยู่ในสถานะที่ดีที่จะได้รับประโยชน์จากแนวโน้มของอุตสาหกรรมในทางบวก โดยจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการใช้ข้อมูลจำนวนมากที่เกิดขึ้นของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ได้ต่อไป