TH EN

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน


สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีเห็นความสำคัญและสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จึงมีมติให้สิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ดังนี้

ภาษีในระดับ
ผู้ลงทุน

บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินปันผล

ภาษีกำไรส่วนต่างราคา กรณีขายในตลาดหลักทรัพย์


ยกเว้นภาษีเงินปันผลให้แก่บุคคลธรรมดาสำหรับเงินปันผลที่ได้จากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นเวลา 10 ปีต่อเนื่องกัน นับแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนรวม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ภายหลังครบกำหนด 10 ปี เงินปันผลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราปกติร้อยละ 10

ยกเว้น

นิติบุคคล


รวมคำนวณกับภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • กรณีบริษัทจดทะเบียน ได้รับยกเว้นภาษี โดยต้องถือหน่วยลงทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนจ่าย และ 3 เดือนหลังจ่ายเงินปันผล
  • กรณีที่ไม่เป็นบริษัทจดทะเบียน และได้ถือหน่วยลงทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนจ่าย และ 3 เดือนหลังจ่ายเงินปันผล จ่ายภาษีกึ่งหนึ่ง

รวมคำนวณกับภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ภาษีในระดับ
กองทุน


กองทุนไม่เสีย (ไม่เป็นหน่วยภาษี)
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม : เสียตามปกติ
  • อากรแสตมป์: เสียตามปกติ
  • ค่าธรรมเนียมการเช่า: ลดหย่อนจาก 1% เหลือ 0.01% (ไม่เกิน 100,000 บาท)

ภาษีสำหรับ
Sponsor เมื่อมี
การขายสินทรัพย์
เข้ากองทุน


ภาษีเงินได้นิติบุคคล (หัก ณ ที่จ่าย 1%)

1. กรณีมีสัญญาว่ากองทุนจะโอนทรัพย์สินคืนให้เจ้าของเดิมหรือมีสัญญาโอนต่อให้ส่วนราชการ :

ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์

ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน จาก 2% เหลือ 0.01% (ไม่เกิน 100,000 บาท)

ลดหย่อนค่าจดทะเบียนการจำนอง จาก 1% เหลือ 0.01% (ไม่เกิน 100,000 บาท)

ลดหย่อนค่าจดทะเบียนการเช่า จาก 1% เหลือ 0.01% (ไม่เกิน 100,000 บาท)

2. กรณีไม่มีสัญญาว่ากองทุนจะโอนทรัพย์สินให้เจ้าของเดิม หรือมีสัญญาโอนต่อให้ส่วนราชการ: เสียตามปกติ

 

*ที่มา : www.set.or.th